วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของ บัลเล่ต์ (Ballet)


             บัลเล่ต์ (Ballet)


             เป็นศิลปะการเต้นรำแขนงหนึ่ง ที่มีประวติความเป็นมายาวนานนับศตวรรษ โดยมีจุดกำเนิดครั้งแรก ณ ประเทศ อิตาลี ในยุคสมัยที่เรียกว่า เรเณซอง หรือ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ในยุคแรกเริ่ม ถือว่าเป็นกิจกรรมทางสังคม ของราชสนักอิตาลี ที่ถือกำเนิดขึ้น และมักนิยมจัดการแสดงโดยเหล่าขุนนางชายเป็นส่วนใหญ่ โดยสาเหตุหนึ่งเกิดขึ้นจากความแต่งต่างของเครื่องแต่งกาย ที่เหล่าขุนนางชายสวมใส่ ชุดที่มีความกระชับและง่ายต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย มากกว่าเหล่าขุนนางฝ่ายหญิง ที่สวมกระโปรงสุ่มขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงกว่างได้ว่าศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ บุตรตรีแห่งตระกูลเม ดิซีในประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นตระกูลหนึ่งที่มีความสำคัญในการปกครองประเทศอิตาลีในขณะนั้น ในเวลาต่อมาพระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิชี ได้นำศิบปะการเต้นบัลเล่ต์ เข้าไปเผยแพร่สู่ราชสำนักฝรั่งเศส ภายหลังการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส


             บัลเล่ต์ จึงได้รับความนิยมแพร่หลายเรื่อยมา ในประเทศฝรั่งเศสจนถึงยุคพระเจ้าหลุยที่  14 แห่งฝรั่งเศส พระองค์ทรงสนับสนุนศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ จนเกิดความรุ่งเรืองสูงสุด มีการเปิดโรงเรียนสอนเต้นบัลเล่ต์ แห่งแรกของโลก โดยมีชื่อว่า Academie Royale De La Dance หรือ สถาบันปารีส โอเปร่า ในปัจจุบันนี้เอง


            ต่อมาศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ก็ได้เคลื่อนย้ายความนิยมเข้าสู่ประเทศรัสเซีย มีการเปิดโรงเรียนสอนเต้นบัลเล่ต์ แห่งแรกขึ้นภายใต้การสนับสนุนของจักรพรรดิ ดีบี แอนนา อีวา  น็อพน่า ในชื่อ อิมพีเรียว บัลเล่ต์ สคูล บัลเล่ต์ ในประเทศรัสเซียจึงเกิดความเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา ซึ่งคณะบัลเล่ต์ หนึ่งที่มีอิทธิ์พลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมศิลปะ ในยุโรป และทั่วโลก ที่หันมาให้ความสนใจและนิยมจัดการเรียน การสอนบัลเล่ต์ ไปทั่วโลก เกิดขึ้นจากผลงานของคณะบบัลเล่ตื รูส ภายใต้การนำของ เสริฟ ดี เอ กีเลฟ ภายหลังการแพร่ขยายของศิลปะการแสดงการเต้น บัลเล่ตื ในประเทศอิตาลี ย้ายเข้าไปในฝรั่งเศสและขยายต่อไปยังประเทสรัสเซีย ก่อนที่ศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ จะกลายเป็นศิลปะที่แพร่ขยายและได้รับความนิยมไปยังทั่วทุกส่วนต่างๆ ของโลกเรื่อยมาจนปัจจุบัน
     


ประวัติและวิวัฒนาการของบัลเล่ต์ (Ballet)



จากศึกษาพบว่าคำว่า Ballet มีรากฐานมาจากภาษาอิตาเสียน คือ
 

  BALLARE = to dance
  BALLO       = a dance
  BALLETO = a little dance
   
        แต่คำว่า Ballet ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นคำภาษาฝรั่งเสส สื่บเนื่องมาจากการพัฒนาการทางประวัติศาสตรื ที่เริ่มมีขึ้นในราชสำนักอิตาลี แต่มาเจริญเติบโตในประเทศฝรั่งเศษ ระหว่างศริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ได้เกิดมีการแสดงบันเทิงที่แพร่หลายในราชสำนักดังนี้
       1. Interudes เป็นการแสดงชุดสั้นๆ ซึ่งประกอบไปด้วยนักร้องและนักเต้น คั่นระหว่างการเสิร์ฟอาหาร
       2. Masquerades เป็นขบวนการแห่ของนักแสดงที่จะหยุดต่อหน้าแขกผู้มีเกียรติ และนักแสดง จะอ่านโคลงกลอนหรือเล่าเรื่อง โดยสวมหน้ากากด้วย
       3. Mummers เป็นการแสดงซึ่งนักเต้นจะสวมหน้ากาก
       
               บัลเล่ต์ ถือได้ว่าเป็นศิลปอย่างชัดเจนในระหว่างศริสต์ศตวรรษที่ 18 วิธีการเป็นแบบฉบับมากขึ้นและยากขึ้น เช่น Mrie Carmago และ Marie Salle ได้ปฏิวัติเครื่องแต่งกายหญิงให้สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระมากขึ้น ขณะเดียวกันกับที่ Jean Noverre,Franz Hilferding พยายามพัฒนาบัลเล่ต์ ไปสู่ความมีแบบฉบับที่ชัดเจนที่เรียกว่า Ballet d' action




        ประวัติความเป็นมาของบัลเล่ต์ในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ตามวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาและการแสดง คือ
ยุคที่ 1 ยุคริเริ่ม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2494) เริ่มมีการเรียนบัลเลต์ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ใน พ.ศ. 2477 ตรงกับสมัยรัชการที่ 7 เป็นการสอนแบบอิสระโดยให้นักเรียนเต้นตาม การแสดงจะเป็นการเต้นประกอบเพลงในละครเพื่อคั่นสลับฉาก รูปแบบการนำเสนอของบัลเล่ต์เข้ามามีบทบาท กับการแสดงนาฏยศิลป์ไทยโดยเฉพาะในละครดึกดำบรรพ์
ยุคที่ 2 ยุคพัฒนาบัลเล่ต์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2509) บัลเล่ต์เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น เนื่องจากมีครูบัลเล่ต์อาชีพจากต่างประเทศจำนวน 4 คนเปิดสอนบัลเล่ต์ในกรุงเทพฯ การสอนยังเป็นแบบอิสระและมักเป็นการซ้อมเพื่อแสดง มีคนไทยจำนวน 4 คนจบการศึกษาบัลเล่ต์ขั้นสูงจากประเทศอังกฤษ บัลเล่ต์เริ่มขยายไปสู่จังหวัดเชียงใหม่ การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิกและการผสมระหว่างนาฏยศิลป์ไทยกับบัลเล่ต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์บทเพลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงบัลเล่ต์หลายชุด และทรงให้การสนับสนุนการแสดงบัลเล่ต์ จึงทำให้บัลเล่ต์เป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น
และยุคที่ 3 ยุคมาตรฐานบัลเล่ต์คลาสสิก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2541) การเต้นบัลเล่ต์ได้พัฒนาจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของหลักสูตรการศึกษาของไทยในระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา และได้มีการแพร่ขยายไปในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ การสอนเปลี่ยนแปลงมาเป็นการใช้หลักสูตรสากลของประเทศอังกฤษ เป็นการวัดมาตรฐานบัลเล่ต์ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิก โดยมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงงานโรงเรียนและการแสดงในเชิงพาณิชย์ ในประเทศไทยยังไม่มีคณะบัลเล่ต์อาชีพ และผู้สนับสนุนบัลเล่ต์อย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งควรมีการแต่งตำราเกี่ยวกับบัลเล่ต์เป็นภาษาไทย เพื่อให้นักเต้นได้รู้และเข้าใจการเต้นบัลเล่ต์ดียิ่งขึ้น และงานวิจัยฉบับนี้ควรนำไปสู่การวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาบัลเล่ต์ในประเทศไทยต่อไป...




Creative Commons License



  ลักษณะเครื่องแต่งกายในการเรียนบัลเลต์ โดยมีส่วนประกอบสำคัญทัง 3 ส่วน ประกอบด้วยกัน



1. เสื้อรัดรูป ที่เรียกว่า ลี-โอะทาด (Leotard) เป็นเสื้อที่มีลักษณะรัดรูป แขนกุด แขนสั่น แขนยาว สายเดี่ยว หรือลักษณะคล้ายเสื้อกล้ามเพื่อเน้นให้เห็นสัดส่วนของร่างกาย โดยครูผู้สอนสามารถมองเห็นกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของลำตัวได้อย่างชัดเจน เพื่อจะนำไปสู่การชี้แนะ แก้ไข การจัดระเบียบร่างกายที่ถูกต้องต่อไป โดยทั่วไปเสื้อรัดรูปที่ดีควรดูดซับเหงื่อได้ดี และระบายความร้อนได้ดีในเวลาเดียวกัน


2. การเกงรัดรูปหรือถุงน่อง ที่เรียกว่า ไทป์ (Tight) เป็นกางเกงรัดรูปหรือถุงน่องชนิดยาวคลุมเท้าหรือยาวปิดเท้า ซึ่งโดยปปกตินักเรียนบัลเล่ต์ชาย จะนิยมสวมใส่ไทป์สีดำหรือสีขาว ในขณะที่นักเรียนบัลเล่ต์หญิงจะสวมใส่ไทปืสีชมพู กางเกงรัดรูปหรือถุงน่องก็เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับนักเรียนบัลเล่ตือีกลักษณะหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องรัดรูป เพื่อเน้นให้ครูผู้สอนสามารถมองเห็นกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจนและพร้อมจะทำการแก้ไขต่อไป ส่วนความหมายสำคัญเชิงศิลปะการแสดงการเต้นบัลเล่ต์ การใส่ชุดรัดรูปจะช่วยให้ผู้ชมสามารถชื่นชมความงดงามของร่างกาย จากลวดลายการเคลื่อนไหว ศรีษะ แขน ขา และลำตัวได้อย่างอย่างชัดเจน ประกอบอารมณืในการแสดง
 



3.รองเท้ารัดรุปชนิดผ้านิ่ม ที่เรียกว่า ซอฟย์ ชู (Soft shoe) เป็นรองเท้ารัดรูปที่ใช้วัสดุในการผลิตจากผ้าซาติน หรือหนังเทียม โดยปกตินักเรียนบัลเล่ต์ชายจะใช้รองเท้ารัดรูปสีขาวหรือสีดำ ในขณะที่นักเรียนบัลเล่ต์หญิงจะใช้รองเท้ารัดรุปสีชมพู เพื่อให้สีของรองเท้ากลมกลือนไปกับสีของถุงน่อง